เมนู

7. สุวิทูรสูตร


ว่าด้วยสิ่งที่ไกลแสนไกล 4


[47] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไกลแสนไกล 4 อย่างนี้ 4 อย่าง
คืออะไร คือ
1. ฟ้ากับดิน
2. ฝั่งในกับฝั่งนอกแห่งสมุทร
3. ที่ ๆ ดวงอาทิตย์อุทัยกับที่ ๆ ดวงอาทิตย์อัสดง
4. ธรรมของสัตบุรุษกับธรรมของอสัตบุรุษ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล สิ่งที่ไกลแสนไกล 4 อย่าง.
ฟ้ากับดิน ไกลกัน ฝั่งสมุทร ก็ว่า
ไกลกัน ที่ ๆ ดวงอาทิตย์อุทัย กับที่ ๆ
ดวงอาทิตย์อัสดง (ก็ไกลกัน) ธรรมของ
สัตบุรุษกับธรรมของสัตบุรุษ ปราชญ์
กล่าวว่าไกลกันยิ่งกว่านั้น
การสมาคมแต่งสัตบุรุษย่อมไม่เสื่อม
คลาย จะนานเท่าใด ๆ ก็คงที่อยู่เช่นนั้น
ส่วนสมาคมแห่งอสัตบุรุษย่อมพลันเสื่อม
เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงไกลจาก
อสัตบุรุษ.

จบสุวิทูรสูตรที่ 7

อรรถกถาสุวิทูรสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสุวิทูรสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สุวิทูรวิทูรานิ ความว่า ไม่ใกล้กันโดยปริยายไร ๆ คือ
ไกลแสนไกลนั่นเอง. บทว่า นภญฺจ ภิกฺขเว ปฐวี จ ได้แก่ อากาศกับ
แผ่นดินใหญ่. ในสองอย่างนั้น ชื่อว่าอากาศไม่ไกลจากแผ่นดิน แม้ประมาณ
2 นิ่วก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็ยังกล่าวว่าไกลแสนไกลเพราะไม่คิดกันและกัน
บทว่า เวโรจโน คือดวงอาทิตย์. บทว่า สตญฺจ ภิกขเว ธมฺโม
ความว่า โพธิปักขิยธรรม 37 อันต่างด้วยสติปัโฐาน 4 เป็นต้น . บทว่า
อสตญฺจ ธมโม ความว่า อสัทธรรมอันต่างด้วยทิฏฐิ 62. บทว่า ปภงฺกโร
คือดวงอาทิตย์. บทว่า อพฺยายิโก โหติ ได้แก่ ไม่จางไปเป็นสภาพ.
บทว่า สตํ สมาคโม ความว่า การสมาคมของบัณฑิตด้วยสามารถกระชับมิตร.
บทว่า ยาวมฺปิ ติฏฺเฐยฺย ความว่า จะพึงตั้งอยู่นานเท่าใด. บทว่า ตเถว
โหติ
ความว่า ก็คงที่อยู่เช่นนั้น. ไม่ละปกติ. บทว่า ขิปฺปญฺหิ เวติ คือ
ย่อมจางเร็ว.
จบอรรถกถาสุวิทูรสูตรที่ 7